การปฏิบัติโครงงาน

การปฏิบัติโครงงาน
โครงงาน เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเป็นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง การจัดการเรียนรู้จากโครงงาน จึงสามารถนำไปจัดได้กับทุกกลุ่ม ประสบการณ์และทุกรายวิชา โดยสามารถจะจัดเป็นโครงงานที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชา หรือเป็นโครงงานที่เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชา แนวทางในการปฏิบัติมีดังนี้ (สุชาติ วงศ์สุวรรณ. 2542 : 19 – 23)
1. โครงงานที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชาโครงงานที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชา เป็นโครงงานที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบคำถามหรือแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะการปฏิบัติโครงงานที่มีลักษณะเป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์หรือภายในวิชา ผู้สอนต้องร่วมกับผู้เรียนวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินงาน โครงงานตามที่ระบุไว้ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง และในการปฏิบัติตามขั้นตอนแต่ละขั้นตอนนั้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้อะไร ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในข้อใดของกลุ่มประสบการณ์ / รายวิชานั้น ๆการวิเคราะห์ในลักษณะดังกล่าว จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดเวลา สำหรับการปฏิบัติโครงงานภายในภาคเรียน หรือปีนั้น ๆ ได้ว่าควรจะใช้เวลาเท่าไร ส่วนเวลาที่เหลือจะได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน สำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้อื่นที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ขณะที่ปฏิบัติโครงงานจากการวิเคราะห์ ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียน มีความมั่นใจได้ว่า ได้เรียนรู้ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติโครงงาน และเรียนรู้จากการเรียนการสอนของผู้สอนในห้องเรียนสำหรับครู อาจารย์ที่จะเป็นปรึกษาโครงงาน ที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์ หรือภายในรายวิชานี้ อาจเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการสอนกลุ่มประสบการณ์ หรือรายวิชาดังกล่าว เป็นผู้รับผิดชอบ
2. โครงงานที่เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือข้ามรายวิชาโครงงานที่เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือข้ามรายวิชา เป็นโครงการที่ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ จากหลาย ๆ กลุ่มประสบการณ์หรือหลาย ๆ วิชามาดำเนินโครงการ การปฏิบัติโครงงานที่เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือข้ามวิชานี้มีแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับโครง งานที่เป็นการบูรณาการภายในกลุ่มประสบการณ์หรือภายในวิชา เพียงแต่ว่าผู้สอนแต่ละกลุ่ม ประสบการณ์หรือแต่ละวิชา จะต้องมาร่วมกันกับผู้เรียนวิเคราะห์ว่าในการดำเนินงานแต่ละขั้น ตอนของโครงงานนั้น ผู้เรียนสามารถจะเรียนรู้เนื้อหากลุ่มประสบการณ์ใดหรือรายวิชาใด และใน จุดประสงค์การเรียนรู้ใดได้บ้าง เพื่อที่จะทำให้ทราบได้ว่า ขณะผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่วางไว้ในขั้นตอนโครงงานนั้นสามารถจะเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาอื่น ๆ ด้วยสำหรับเวลาในการปฏิบัติโครงงานที่เป็นการบูรณาการข้ามกลุ่มประสบการณ์หรือข้ามวิชานี้ ทุกกลุ่มประสบการณ์/วิชา ต้องจัดสรรเวลาเรียนของกลุ่ม/วิชา จำนวนที่วิเคราะห์จากขั้นตอนการดำเนินงานแล้วนำเอาเวลาดังกล่าวมารวมกัน เพื่อจัดเป็นเวลาสำหรับการปฏิบัติโครงงาน ส่วนที่เหลือก็นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามปกติของแต่ละกลุ่มประสบการณ์หรือแต่ละวิชา
3. จำนวนผู้ปฏิบัติโครงงานแต่ละโครงงานควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันตามความถนัด ความสนใจ และความสมัครใจกลุ่มละ 3-5 คน ในการปฏิบัติโครงงานแต่ละโครงงาน และสถานศึกษาต้องจัดให้มีครู อาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความถนัดหรือความสนใจ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงงาน คอยให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของผู้เรียน รวมทั้งทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานโครงงานของผู้เรียนด้วย
4. ระยะเวลาการปฏิบัติงานโครงงาน
สามารถพิจารณาได้ตามความเหมาะสม แต่ควรสิ้นสุดภายใน 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการวัดผลประเมินผล การปฏิบัติงานโครงงาน อาจแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะวางแผน เป็นระยะเวลาสำหรับการดำเนินงาน ตามขั้นตอนในขั้นตอนที่ 1-3 ระยะการปฏิบัติงาน เป็นระยะเวลา สำหรับการดำเนินงานในขั้นตอนที่ ระยะสรุปประเมิน เป็นระยะเวลาสำหรับการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 5-6 การกำหนดเวลาสำหรับการปฏิบัติโครงงานทั้ง 3 ระยะ สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะของโครงงาน และสอดคล้องกับเวลาเรียนที่มีอยู่ ซึ่งในบางครั้งอาจใช้นอกเวลาเรียนได้ตามความจำเป็น
การปฏิบัติโครงงาน สรุปได้ว่า เป็นการปฏิบัติจริงโดยมีการจัดการเรียนรู้จากโครงงาน ซึ่งสามารถจัดได้กับทุกกลุ่มประสบการณ์และทุกรายวิชา เพื่อเปิดโอกาสผู้เรียนได้ใช้ความถนัด ความสนใจ และสมัครใจ โดยมีระยะเวลาตามความเหมาะสมกับลักษณะโครงงาน และสอดคล้องกับเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนได้ตามความเหมาะสม